ตรวจสุขภาพ ชูการ์
การตรวจสุขภาพชูการ์ ไกรเดอร์ (Sugar Glider) ในเบื้องต้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าชูการ์ของเรากำลังมีสุขภาพที่ดี หรือถ้าพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะสามารถแก้ไขหรือป้องกันการลุกลามไปยังปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆที่เลี้ยงน้องชูก้าบางท่านอาจมีคำถามว่า ตรวจสุขภาพชูการ์(เบื้องต้น) ต้องตรวจอะไรบ้าง? มีกี่ขั้นตอน? โดยในบทความนี้ เราจะแนะนำว่าการตรวจชูการ์ในเบื้องต้นจะต้องตรวจอะไรกันบ้าง และมีกี่ขั้นตอนกันค่ะ
สอบถามบริการตรวจสุขภาพชูการ์
การตรวจสุขภาพชูการ์ไกรเดอร์ เบื้องต้น
สำหรับในกรณีเบื้องต้น การตรวจสุขภาพชูการ์จะทำการตรจสอบจากภายนอกร่างกายว่าแต่ละจุดปกติดี หรือตรวจพบความผิดปกติในบางจุดหรือไม่ ซึ่งมีจุดที่ทั้งเหมือนและแตกต่างจากการตรวจสุขภาพแมวและสุนัข โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบน้ำหนัก ต่อมกลิ่น ช่องปากและฟัน บริเวณใบหู ดวงตา เล็บ ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงอุจจาระ โดยแต่ละขั้นตอนจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบน้ำหนักชูการ์
น้ำหนักโดยปกติของชูการ์ไกรเดอร์ไม่ควรเกิน 150 กรัม โดยน้ำหนักปกติจะอยู่ที่ตั้งแต่ 120-150 กรัมค่ะ
2. ตรวจสภาพต่อมกลิ่น
ตรวจเช็คต่อมกลิ่นทั้งหมดสามจุด หัว หน้าอก และก้น โดยชูการ์ตัวผู้ที่ยังไม่ทำหมั่นบริเวณหัวจะล้าน และชูการ์ตัวเมียจะมีต่อมกลิ่นเพียงแค่ 2 จุด ในส่วนของ ก้น และ กระเป๋าหน้าท้อง ทำให้ชูการ์ตัวเมียจะไม่มีปัญหาในเรื่องของหัวล้านเหมือนกับตัวผู้นั้นเองค่ะ
3. ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
ตรวจเช็คความสะอาดของฟันชูการ์ไกรเดอร์ว่าปกติ มีหินปูนที่ต้องทำการขัดออกหรือไม่ ฟันสะอาดดีหรือไม่
4. ตรวจความสะอาดและสุขภาพหู
การตรวจเช็คบริเวณหูของชูการ์ โดยปกติชูการ์จะหมั่นทำความสะอาดหูอยู่เป็นระยะๆ ชูการ์ที่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนเกินไปจะไม่สามารถทำความสะอาดหูของตัวเองได้ ทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณหู ทำให้เกิดขี้หูดำ
5. ตรวจร่างกายชูก้า
ตรวจเช็คสัดส่วนร่างกายว่าสมบูรณ์ปกติ หางปกติ เท้าสะอาด นิ้วเท้าสีชมพูปกติดีหรือไม่
6. ตรวจบริเวณดวงตา
ตรวจเช็คบริเวณดวงตาโดยใช้อุปกรณ์แสงสว่างส่องดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากชูการ์มีอาการของโรคเบาหวาน ตาจะเป็นฝ้าขาว แสดงออกถึงความผิดปกติ
7. ตรวจความยาวของเล็บ
ตรวจดูเล็บว่ามีความยาวพอดีไม่ยาวจนเกินไป การตัดเล็บชูการ์ไม่ควรจากการเกาะปีนได้ การตัดเล็บสั้นจนเกินไปจะทำให้น้องชูการ์รู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย และอาจทำให้ให้เกิดอุบัติเหตุ
8. ตรวจระบบทางเดินหายใจ
คุณหมอจะทำการตรวจเช็คสุขภาพปอดและหัวใจจากการฟังเสียง โดยใช้อุปกรณ์ในการฟังเสียงภายในร่างกาย เพื่อดูว่าปอดและหัวใจของน้องชูการ์ทำงานอยู่ในระดับปกติดีหรือไม่
9. ตรวจอุจจาระชูการ์ไกรเดอร์
การตรวจอุจจาระชูการ์ สามารถสังเกตได้จากขนาด ความยาว สี ไม่มีลักษณะถ่ายเหลวหรือไม่ถ่ายเป็นน้ำ โดยทางโรงพยาบาลจะนำตัวอย่างอุจจาระที่เก็บได้ไปทำการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปน
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับชูการ์ไกรเดอร์
เมื่อเปรียบเทียบชูการ์ไกรเดอร์กับสัตวเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น สุนัข แมว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมักจะมีถุงอัณฑะอยู่บริเวณด้านหลังของร่ายกาย แต่ในกรณีของชูการ์ ถุงอัณฑะจะอยู่บริเวณด้านหน้าของชูการ์เพศผู้ และในส่วนของเพศเมีย จะมีถุงหน้าท้องคล้ายจิงโจ้แทน และมักมีการเรียกน้องว่า ”จิงโจ้ร่อน” เช่นกันค่ะ
การเอกซ์เรย์ x-ray ชูก้า
ในกรณีที่ต้องการตรวจสุขภาพชูการ์เพิ่มเติมนอกเหนือจากการตรวจเช็คเบื้องต้น การเอกซ์เรย์ (x-ray) ก็จะช่วยให้เห็นถึงรายละเอียดเพิ่มเติมภายในของตัวของน้องชูการ์ รวมถึงอวัยวะภายใน เช่น เนื้อเยื้อ กระดูก ปอด หัวใจ ตับ กระเพาะอาหาร ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ปกติ หรือมีอาการบาดเจ็บภายในหรือไม่
ชูการ์ที่มีลักษณะกระดูกบาง หรือมีภาวะการขับถ่ายที่มีความผิดปกติ ควรเข้ารับการ x-ray เพื่อประเมินว่าเชิงกรานแคบ หรือมีภาวะผิดปกติหรือไม่ ในกรณีที่ชูการ์มีภาวะกระดูกเชิงกรานแคบ เวลาเบ่งขับถ่ายจะเกิดเสียง ทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้ยาก และทำให้มีอาการท้องผูกได้ค่ะ
บทความถอดจากคลิปวีดีโอที่อธิบายโดย สพ.ญ.ภาวิดา วิภูสันติ (หมอมิงค์)
รีวิวจากลูกค้า (Review)
รพส ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospita) มีให้บริการตรวจรักษาสัตว์เลี้ยงหลากหลายชนิด สุนัข แมว กระต่าย เต่า นก รวมถึงสัตว์เลี้ยงเอ็กโซติก (exotic pets) เช่น โรงพยาบาลรักษาชูการ์ รักษาเม่นแคระ กระรอก หนูแฮมสเตอร์ เต่า กิ้งก่า งู ฯลฯ โดยทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ สถานที่สะอาด ปลอดภัย มีห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัย เครื่องอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) และเครื่อง x-ray ด้วยระบบ digital
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์
(Darin Animal Hospital)
214 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230