ผ่าตัดเนื้องอกหนูแฮมเตอร์ (Hamster Tumor Removal)
การเลี้ยงหนูแฮมเตอร์บ่อยครั้งมักพบว่าเนื้องอกเกิดขึ้น สำหรับเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมีขนาดใหญ่ สัตวแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเนื้องอกของหนูแฮมเตอร์ออก เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์ มีหมอรักษาแฮมสเตอร์ที่มีประสบการณ์เป็นสัตวแพทย์ประจำ ให้บริการตรวจสุขภาพหนูแฮมเตอร์และรักษาแฮมสเตอร์ป่วยจากโรคต่างๆ
รักษาหนูแฮมเตอร์
หนูแฮมเตอร์สามารถเป็นเนื้องอกได้ ทั้งที่เป็นเนื้องอกไม่ร้าย (Benign) และเนื้องอกร้าย (Malignant) สำหรับเนื้องอกบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์มีก้อนที่ท้อง บ่อยครั้งมักเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเยื่อบุ (Epithelial Tissue) หรือกระเพาะ (Glandular Tissue)
อาการเนื้องอกที่เกิดขึ้นในแฮมสเตอร์
เมื่อหนูแฮมเตอร์มีเนื้องอกเป็นก้อน บนผิวหนังหรือที่ท้อง การกินน้อยหรือไม่กิน และมีการเคลื่อนไหวที่แปลกไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม (Behavioral Changes) หรือภาวะอ่อนแรง (Lethargy) อาจเป็นสัญญาณของเนื้องอกที่เจริญเติบโต หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ควรรีบพาหนูแฮมเตอร์ไปปรึกษาที่โรงพยาบาลรักษาแฮมสเตอร์
การวินิจฉัยเนื้องอกในแฮมสเตอร์
หมอรักษาแฮมสเตอร์อาจใช้วิธีการตรวจด้วยตาเปล่า (Visual Inspection) การตรวจเซลล์ (Cytology) หรือการเอ็กซ์เรย์หนูแฮมเตอร์ (x-ray) เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งเป็นปัจจัยในการตัดสินใจว่าควรจะผ่าตัดเนื้องอกหรือไม่
การรักษาและการผ่าตัดเนื้องอกหนูแฮมเตอร์
หากพบว่าเนื้องอกของหนูแฮมเป็นเนื้อร้าย (Malignant) หรือเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ สัตวแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดนำเนื้อร้ายออก การผ่าตัดจะทำในห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ โดยหมอรักษาแฮมสเตอร์ที่มีประสบการณ์ ซึ่งในกรณีที่ต้องทำการผ่าตัดเนื้องอก จะมีค่าผ่าตัดหนูแฮมเตอร์และค่าดมยาสลบเพื่อนำเนื้องอกออกจากร่างกาย
การดูแลหลังการผ่าตัดเนื้องอก
หลังจากการผ่าตัด หนูแฮมเตอร์จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องเฝ้าระวังภาวะการติดเชื้อ (Infection) ของแผลผ่าตัด สัตวแพทย์อาจให้กินยาแก้ปวด (Analgesics) หรือยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) ควบคู่ไปตามอาการ ในช่วงของการพักฟื้นหลังผ่าตัด หนูแฮมเตอร์ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ และรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม การดูแลและติดตามอาการเป็นสิ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูสภาพร่างกายของหนูแฮมเตอร์
การป้องกันเนื้องอกในหนูแฮมเตอร์
การป้องกันที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพหนูแฮมเตอร์ ให้อาหารที่เหมาสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงได้ หลีกเลี่ยงการให้สารเคมีหรือวัสดุที่อาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้องอก เจ้าของควรตรวจสอบหนูแฮมเตอร์อย่างสม่ำเสมอ หรือนำน้องหนูไปพบสัตวแพทย์เพื่อการตรวจร่างกายหนูแฮมเตอร์ (Physical Examination) เป็นระยะ การพบเนื้องอกและรักษาเนื้องอกในระยะแรกเริ่มแรก และลดค่าใช่จ่ายในการรักษาเนื้องอกที่เกิดขึ้นในแฮมสเตอร์ได้
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ มีแผนกโรงพยาบาล exotic pet นอกจากมีบริการรักษาแฮมสเตอร์แล้ว เรายังหมอรักษา exoticให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาสัตว์ exotic หลากหลายชนิด เช่น โรงพยาบาลรักษากระรอก เม่นแคระ แกสบี้ กระต่าย เต่า งู กิ้งก่า รักษานกแก้ว รวมถึงนกสายพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital)
214 ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230