แมวฉี่ไม่ออก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แมวฉี่ไม่ออกเกิดจากอะไร? อาการแมวฉี่ไม่ออกนั้นโดยส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดจากอาการที่เกี่ยวข้องกับแมวกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ ซึ่งเป็นกลุ่มโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมวที่พบบ่อย หรือที่เรียกว่า Feline lower urinary tract disease (FLUTD) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Pandora syndrome เป็นกลุ่มอาการผิดปกติตั้งแต่ urinary bladder (กระเพาะปัสสาวะ) จนถึง urethra (ท่อปัสสาวะ)
อาการทางคลินิกที่ตรวจพบเจอได้บ่อยจากการตรวจรักษาแมวที่มีอาการปัสสาวะไม่ออก ได้แก่ dysuria (ปัสสาวะลำบาก) pollakiuria (ปัสสาวะกระปริกระปรอย) hematuria (ปัสสาวะเป็นเลือด) และ stranguria (เบ่งปัสสาวะ)
ติดต่อรักษาอาการ แมวฉี่ไม่ออก
แมวฉี่ไ่ม่ออก สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?
การที่แมวฉี่ไม่ออกมักมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจาก แมวมีน้ำหนักตัวมาก แมวอ้วนเกินค่ามาตรฐาน ไม่ค่อยออกกำลังกาย โดนจำกัดการออกนอกบ้าน แมวมีการอดอาหารหรือน้ำอยู่บ่อยครั้ง การที่อาศัยอยู่กับแมวตัวอื่นหรือมีแมวหลายตัว และแมวตัวผู้มีโอกาสที่จะเกิดการฉี่ไม่ออกมากกว่าแมวตัวเมีย
มีรายงานการศึกษากลุ่มอาการของ FLUTD โดยนำแมวที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะกระปริกระปรอย มาหาสาเหตุ พบว่ามีสาเหตุดังนี้
- Idiopathic Cystitis หรือชื่อย่อว่า FIC (Feline idiopathic cystitis) คือ อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ พบกว่าการฉี่ไม่ออกมักจะพบจากสาเหตุนี้ได้ 63% โดย FIC จะคล้ายโรค Idiopathic cystitis ในกลุ่มคนผู้หญิง ที่พบมากคือกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ
- Urethral Plugs จากสถิติแล้ว จะได้พบว่าเกิดจากสาเหตุนี้ได้ประมาณ 21%
- Uroliths (นิ่ว) แมวเป็นนิ่ว รวมถึงทั้งในกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ พบได้ประมาณ 23%
- Bacterial UTI พบ 3%
- Anatomic Anomaly (ความผิดปกติทางกายภาพ) พบ 0.3%
- Neoplasia (กลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็ง) พบ 0.3%
อาการแมวฉี่ไม่ออก แบ่งโดยกลุ่มสาเหตุ
หากแบ่งอาการจากกลุ่มสาเหตุที่แมวฉี่ไม่ออก จะแบ่งเป็นกลุ่มไม่อุดตัน (Non-obstruction) และกลุ่มอุดตัน (Obstruction)
1. Non-obstructive LUTD
Non-obstructive LUTD หมายถึง การมีอาการโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และพบว่าแมวมีกระเพาะปัสสาวะเต่ง แต่ไม่มีการอุดตัน พบได้ในโรคดังต่อไปนี้
- Idiopathic Cystitis
- Urolithiasis (นิ่ว) หรืออาการแมวเป็นนิ่ว อาจเป็นนิ่วก้อนใหญ่หรือก้อนเล็ก ซึ่งอาจไม่ได้ทำให้เกิดการอุดตัน แต่อาจจะมีเลือดออกได้
- Anatomic defects คือ ลักษณะกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เช่น Urachal diverticulum (มีกระเปาะที่ส่วนปลายกระเพาะปัสสาวะ)
- Behavioral problem พฤติกรรมที่ผิดปกติในแมว (แมวปัสสาวะแบบสเปรย์ แมวตัวผู้จะยืนโก่งหลัง ปลายอวัยวะเพศจะพ่นฉี่ออกมา)
2. Obstructive LUTD
Obstructive LUTD หมายถึง การมีอาการโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และพบว่าแมวมีกระเพาะปัสสาวะเต่ง และมีการอุดตัน พบได้ในโรคดังต่อไปนี้
- Urethral Plugs
- Urolithiasis (นิ่ว) แมวเป็นนิ่วชนิดอุดตัน
- Idiopathic cystitis (พบได้น้อย) แมวเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดการอุดตันได้โดย physiological obstruction เมื่อเกิดการอักเสบจะทำให้เกิด Urethra spasm คือกล้ามเนื้อเรียบหดเกร็งตัว แล้วจะเกิดการบวม อักเสบที่ submucosa edema ทำให้เกิดการอุดตันตามมา
2.1 Feline Idiopathic Cystitis (FIC)
อาการนี้สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุ และถ้ามันยังไม่อุดตันจะหายได้เองภายใน 5-10 วัน โดยการรักษาเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้ามีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดความเจ็บปวด พฤติกรรมเปลี่ยน อาจทำให้เกิดท่อปัสสาวะอุดตัน เช่น เมื่อเกิดการอักเสบมากๆ ท่อทางเดินปัสสาวะจะบวม โดย FIC อาจพบได้ในกรณีไม่อุดตันใน ระยะแรกๆ แต่ถ้าเกิดการอักเสบมากๆจะเกิด กระบวนการอักเสบจนทำให้ smooth muscle contraction จนเกิดเป็น physiological obstruction โดยที่ยังไม่เกิด urethral plugs
2.2 Urethral Plugs
โดยจะนิ่มกว่านิ่ว มีลักษณะนุ่ม เกิดจาก Protein colloid matrix (เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ได้แก่ mucoprotein, albumin, globulin, cells) ที่เกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ รวมตัวกันกับ Crystalline material
โดยปกติท่อทางเดินปัสสาวะแมวจะเล็กและแคบ เมื่อทานน้ำน้อย กินอาหารเม็ดหรืออาหารแห้งมาก จะเหนี่ยวนำให้เกิดมากกว่าปกติ และเมื่อมีการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะเป็นเวลานานๆ เช่น เกิด FIC ที่ยังไม่ได้อุดตัน crystal จะรวมตัวกันกับ Protein colloid matrix ทำให้เกิด Urethral plugs อุดตันท่อทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย
2.3 Urolithiasis
นิ่วในแมว มีหลายชนิดแต่ที่เจอบ่อย คือ Struvite กับ oxalate โดยความแตกต่าง คือ Struvite pH >7.0 (ค่อนข้างเป็นด่าง) แต่ Calcium oxalate pH <6.3 (ค่อนข้างไปทางกรด) จากการตรวจอาการของแมวเป็นนิ่ว อาจเจอพวกนิ่ว urate ได้บ้าง แต่ส่วนมากจะเป็น Struvite กับ Oxalate ซึ่งการรักษาแมวเป็นนิ่วก็จะแตกต่างกัน
2.4 Urinary Tract Infection (UTI)
คือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมีการศึกษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะแมว 126 ตัว พบว่าเป็นเชื้อแกรมลบ 59 ตัวและเชื้อแกรมบวก 67 ตัว โดยเชื้อที่พบมากคือ E. coli > Enterococcus spp.> Staphyloccus felis > Proteus spp. > Staphyloccus aurous
ดังนั้น เวลาที่สัตวแพทย์จะทำการวินิจฉัย bacterial infection สัตวแพทย์จะทำการเพาะเชื้อ (urine culture) เพื่อการเลือกใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสาเหตุและอาการของแมวแต่ละตัวที่ฉี่ไม่ออก
2.5 Anatomic anomaly
ความผิดปกติทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการแมวปัสสาวะไม่ออกมักพบเจอได้ คือ
- Urinary bladder diverticula
- Urethral stricture
- Urethral malposition คือ การมีท่อต่อ urethral ผิดตำแหน่ง ในบางรายไม่มีกระเพาะปัสสาวะเลย เลย เจอได้ในพวก congenital anomaly (ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด) แต่ส่วนที่เห็นคือ ส่วน urethra ที่มันพองออกมาเป็นกะเปาะเล็กน้อยเท่านั้น
2.6 Neoplasia
กลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็งแมว โดยแมวเป็นมะเร็งได้ทั้งภายในและภายนอกกระเพาะปัสสาวะ
การวินิจฉัยอาการของแมวฉี่ไม่ออก
- Signalment: อายุ เพศ พันธุ์ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์เปอร์เซียมีแนวโน้มที่จะเป็น FIC ได้มากกว่าพันธุ๋อื่น
- ประวัติ/อาการ/ปัจจัยเสี่ยง: แมวที่อ้วนหรือทำหมันมา มีแนวโน้มที่เจะเป็นโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้มาก
- การเลี้ยงดู: การเลี้ยงแมวแบบปล่อยหรือว่าเลี้ยงขังกรง จะมีผลเกี่ยวกับความเครียดของแมว
- อาหาร: อาหารที่ให้แมวรับประทานก็มีผลให้เกิดโรคได้ เช่น ทานอาหารเข้มข้นมากหรือกินกลุ่มที่ทำให้เกิดcrystalline เยอะทำให้ปัสสาวะของแมวมีความเข้มข้นมาก ก่อให้เกิด urethral plug หรืออาหารบางชนิดมีกลุ่มแมกนีเซียม แอมโมเนียม ฟอสเฟตสูงเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วชนิด struvite ได้ค่อนข้างมาก
- Vital sign:
- Hematology and biochemistry เป็นการตรวจเพื่อตัด (rule out) โรคทางระบบอื่นๆที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่คล้ายๆกันออกไป เช่น โรคไต (renal disease) โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroidism) โรคเบาหวาน (DM) ที่มีอาการปัสสาวะบ่อยครั้ง (polyuria) เหมือนกัน เป็นต้น
- Bladder distension: ดูการขยายของกระเพาะปัสสาวะแมว
- Obstruction หรือ non-Obstruction
- Urinalysis: คือการวิเคราะห์ปัสสาวะแมว
- Urine culture และ susceptibility: เพาะเชื้อและทดสอบความไวยา
- Urinary tract imagine: X-ray เอกซ์เรย์ และ ultrasound อัลตร้าซาวด์แมวในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติอย่างอื่นและเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เพื่อดูลักษณะนิ่วแมว ความหนาของกระเพาะปัสสาวะแมว ตะกอนในปัสสาวะ เนื้องอกในแมว เป็นต้น
ในแมวที่มีอาการฉี่ไม่ออกที่รุนแรงมากๆ ปัสสาวะไม่ออกหลายวัน และมีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ต้องให้ระวังภาวะขาดน้ำรุนแรง ค่าของเสียในเลือดสูง (ไตไม่สามารถขับออกได้) เกิดความผิดปกติของภาวะสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหากแมวแสดงอาการปัสสาวะลำบาก ฉี่กระปริบกระปรอย ปัสสาวะขัด เบ่ง หรือปัสสาวะเป็นเลือดให้รีบพามาพบสัตวแพทย์โดยด่วน
“ตรวจสุขภาพแมวเบื้องต้น” โดย สพ.ญ. ภาวิดา วิภูสันติ (หมอมิงค์)
ผ่าตัดนิ่วแมว จากอาการแมวฉี่ไม่ออก
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital) มีให้บริการตรวจรักษาแมวในหลากหลายด้าน รวมถึงการทำหมันแมวรามอินทรา ตัวผู้-ตัวเมีย ตรวจแมวท้องด้วยระบบอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) ฝากครรภ์แมวตัวเมีย ผ่าคลอดแมว โดย รพส ดารินรักษ์ ตั้งอยู่กลางซอยรามอินทรา 14 มีที่จอดรถกว้างขวางให้บริการ
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital)
214 ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (ซ.มัยลาภ / รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
ข้อมูลอ้างอิง (References)
- AVMF (American Veterinary Medical Foundation)
- Feline bacterial urinary tract infections: An update on an evolving clinical problem Annette Litster a., Mary Thompson b, Susan Moss b, Darren Trott b
- Diagnosing and Managing Feline Lower Urinary Tract Disease Johanna Heseltine DVM, MS, DACVIM (SAIM)
- Feline Lower Urinary Tract Disease (FLUTD) by international cat care