โรคผิวหนังในกระต่าย ที่พบได้บ่อย (Common Dermatologic Disease in Rabbit)
โรคผิวหนังกระต่ายเป็นโรคที่เจ้าของกระต่ายหลายๆคนมักจะพบเจอ ซึ่งโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นในกระต่ายมีสาเหตุต่างๆกัน เช่น เชื้อรากระต่าย ปรสิต ไวรัส เป็นต้น สัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษากระต่ายจะทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคก่อนที่จะทำการรักษา โดยโรคผิวหนังในกระต่ายที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งในบทความนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผิวหนังสามารถที่เกิดขึ้นได้ในกระต่าย
โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital) มีให้บริการรักษากระต่ายที่เป็นโรคผิวหนังจากสาเหตุต่างๆ โดยสัตวแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ในการตรวจรักษากระต่าย บริการของเรายังรวมถึงการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในกระต่าย เช่น กระต่ายท้องอืด กระต่ายท้องเสีย กรอฟันกระต่าย รวมถึงการทำหมันกระต่าย เป็นต้น
รักษาโรคผิวหนังกระต่าย
1. Parasitic Disease (โรคที่เกิดจากปรสิต)
- Ear mite: ไรในหู เกิดจาก ไร Psoropted cuniculi บางครั้งเปิดดูด้านในหู มักเกิด otitis externa (หูชั้นนอกอักเสบ) บางตัวเกิดอาการ Head tilt (หัวเอียง) เพราะ tympanic membrane (เยื่อแก้วหู) ทะลุ อาการจะแสดงอาการเจ็บปวดแบบรุนแรง มีอาการคล้ายทางประสาท แต่จะเกิดการ circling (กลิ้งตัวแบบดิ้นรน) บางครั้งอาจต้องวางยาสลบเพื่อทำความสะอาดหู เพราะกระต่ายจะทรมานและต้องรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนร่วมด้วย
- Fur mite: ไรขน ไรผิวหนัง ปกติกระต่ายจะ grooming ตัวเองตลอดเวลา และจะไม่มีเศษรังแค แต่ถ้าพบรังแคและไต่ตามขนได้มันคือ ไรขน (fur mite) โดยไรขนกระต่ายก่อให้เกิดความรำคาญ ระคายเคือง อักเสบ
- Mange mites: ไรขี้เรื้อนแห้งในกระต่าย เกิดจากเชื้อ Demodex cuniculi พบได้แต่พบน้อย
- Flea: หมัด บางครั้งพบการติดเชื้อจากสุนัขและแมว
2. Pododermatitis (อุ้งเท้าอักเสบ)
เกิดจากอุ้งเท้าอักเสบ (มีฝีเกิดขึ้นที่บริเวณฝ่าเท้า) สาเหตุเนื่องจากน้ำหนักตัวมากเกินไป พื้นกรงแข็ง พื้นมีลักษณะเป็นลวด ซี่พื้นกรงห่างกันหรือชิดกันเกิดไป ทำให้เวลาที่น้ำกดทับนานๆ เส้นเลือดไม่ไหลเวียนบางตัวเป็นด้านข้างฝ่าเท้า เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มาก ทำให้ขาแบะออก เกิดตุ่มฝีขึ้น
3. Dermatophytosis (เชื้อรากระต่าย)
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรากระต่าย พบเจอได้บ่อย แสดงอาการคันมาก โรคผิวหนังกระต่ายชนิดนี้ต้องรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 21 -28 วัน หายแบบช้าๆ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไปรอยโรคถึงจะค่อยๆดีขึ้น โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค คือ Trichophyton mentagrophytes (ทดสอบด้วย wood’s lamp: ไฟสีม่วงไม่ได้) และ Microsporum spp. (ทดสอบด้วย wood’s lamp: ไฟสีม่วงได้) โรคเชื้อรากระต่ายมักจะรักษาโดยใช้ยากิน เพราะกระต่ายจะทำการ grooming (แต่งตัว) ตัวเองตลอด และรอยโรคเชื้อราในกระต่ายที่เกิดขึ้นก็จะสามารถกระจายไปทั่วลำตัว
4. Barbering or Hair Pulling (จมูกโกร๋น)
ภาวะจมูกโกร๋น ขนหายไปเป็นปื้น ซึ่งเป็นภาวะที่พบเจอได้ปกติของกระต่ายหรือบางครั้งกระต่ายที่กำลังจะคลอดลูกก็พบได้ แต่ผิดปกติในกลุ่มหนู ซึ่งอาจเกิดจากภาวะเครียดแล้วจะเกาหน้าหรือมีบาดแผลที่เรามองไม่เห็น
5. Moist dermatitis (กระต่ายผิวหนังอักเสบ)
โรคผิวหนังอักเสบ อาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- Slobber น้ำลายไหลมากและเปียกคาง ชื้นมาก ทำให้เกิดโรคผิวหนัง มีอาการอักเสบ แดง ผิวหนังลอก
- Urine Scald (ฉี่เปรอะ/ฉี่กะปริดกะปรอย) เกิดโรคผิวหนัง บางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุโรคอื่นๆ เช่น ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่ว โรคไต ขาหัก หรือกล้ามเนื้อขาหลังไม่แข็งแรง อายุมากแล้วนอนปัสสาวะเลอะท้ายลำตัว
6. Viral skin disease (โรคผิวหนังที่เกิดจากไวรัส)
โรคผิวหนังที่เกิดจากไวรัส เช่น Myxomatosis เกิดจาก pox virus บางทีเรียก Myxoma virus จะเกิดตุ่มตามตัว ต่อมน้ำเหลืองใหญ่ มีโอกาสเสียชีวิตสูงและติดต่อกันง่าย พบในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงาน
7. Subcutaneous abscess (ฝีใต้ผิวหนัง)
กระต่ายเป็นฝีสามารถเจอได้บ่อย โดยเฉพาะกระต่ายเป็นฝีที่เท้า บางตัวต้องทำการเอกซเรย์ เพื่อดูว่ามันกินกระดูก (osteomyelitis) ไปแล้วรึยัง โดยส่วนมากเป็นโรคทางระบบ หากกินเนื้อกระดูกจนเกิดการติดเชื้อแล้ว อาจต้องตัดขาทิ้ง ถ้าต้องตัดขาหน้าโอกาสรอดค่อนข้างต่ำ หากตัดขาหลังมีโอกาสรอดสูง ด้วยเพราะกระต่ายใช้ขาหน้าเป็นตัวนำทาง ถ้าตัดออกมันจะเอาหน้าไถพื้น โดยเชื้อที่มักก่อโรค เช่น S. aureus, Pasteurella multocida, Pseudomonas aeruginosa, Proteus spp.
เจ้าของกระต่ายที่ต้องการนำกระต่ายมาตรวจสุขภาพ หรือตรวจวิฉัยโรคหรืออาการป่วยของกระต่าย สามารถโทรติดต่อเจ้าหน้าที่ รพส ดารินรักษ์ รามอินทรา-เกษตรนวมินทร์ เพื่อทำนัดหมายวันและเวลาในการพบสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์การรักษากระต่ายได้ค่ะ เรามีบริเวณที่จอดรถกว้างขวางสะดวกสบายให้แก่ท่านเจ้าของที่มาใช้บริการค่ะ
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital)
214 ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (ซ.มัยลาภ / รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230