ฉีดวัคซีนแมว
ขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลน้องแมวหลังจากรับมาเลี้ยง ก็คือการเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อรุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อน้อง ได้แก่ การทำวัคซีนป้องกันโรค สำหรับการเริ่มทำวัคซีนในแมวสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป โดยเริ่มจากวัคซีนหลัก ได้แก่ หัด หวัดแมวและพิษสุนัขบ้าตามลำดับ
ก่อนอื่นโรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์ขอให้ข้อมูลโรคติดต่อในแมวที่สำคัญ
โรคติดต่อที่พบบ่อยในแมว
1.โรคไข้หัดแมว (Feline parvovirus)
สาเหตุและการติดต่อ : เกิดจากเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันผ่านทางการกินอนูของอุจจาระเป็นหลัก
อาการ : หากติดโรค จะพบว่าน้องแมวมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ อาเจียน ถ่ายเหลว มีกลิ่นคาว ถ่ายเป็นเลือด หากตรวจเลือดเช็คสุขภาพอาจพบภาวะเม็ดเลือดต่ำทุกชนิด เช่น โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
2. โรคหวัดแมว (Cat flu)
สาเหตุและการติดต่อ : เกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ไม่ติดสู่คน แต่หากปล่อยให้เกิดอาการรุนแรง อาจพัฒนาโรคไปจนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินอันถึงแก่ชีวิตได้ มีการติดต่อกันผ่านทางการหายใจ การสัมผัสกันโดยตรง การทานอาหารและใช้ของร่วมกัน
อาการ : อาการของโรคได้แก่ ซึม มีไข้ เบื่ออาการ มีขี้มูกขี้ตา ตาบวม เยื่อตาขาวบวมและอักเสบ เกิดความระคายเคืองทำให้น้องเกาตา เกิดแผลหลุมบนกระจกตาได้ หากรักษาช้าอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นและตาบอดได้ บางตัวมีอาการไอจาม เหงือกและช่องปากอักเสบเป็นแผลได้อีกด้วย
3. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies virus)
สาเหตุและการติดต่อ : เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Rabies และสามารถติดคนได้ (Zoonosis disease) มีการติดต่อกันทางน้ำลายและบาดแผล เช่น การกัดกันเป็นหลัก
ระยะฟักตัว : โรคนี้จะมีระยะฟักตัวหลากหลายทั้งในสัตว์และคน เร็วสุดคือ 4-5 วัน และอาจยาวนานได้ถึงหลักเดือนหรือปี ขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ
4. โรคลิวคีเมีย (Feline leukemia)
สาเหตุและการติดต่อ : โรคนี้เกิดจากไวรัส Feline leukemia virus สามารถติดต่อผ่านทางน้ำลาย สารคัดหลั่ง หรือติดต่อผ่านแม่สู่ลูกแมวได้ พบได้มากในแมวที่เลี้ยงเปิด หรือแมวจร
อาการ : หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป แมวมักแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร เยื่อเมือกซีดอันเกิดจากภาวะโลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดต่ำลง ทำให้ภูมิตก ติดโรคติดต่ออื่นๆและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่าง ในบางตัวไวรัสอาจโน้มนำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งได้ บางตัวพบเนื้องอกของต่อมน้ำเหลืองในช่องอก ทำให้เกิดน้ำคั่งในช่องอก เบียดเนื้อปอด ทำให้เกิดอาการหายใจแรง หายใจลำบาก ส่งผลให้มีภาวะฉุกเฉิน เสียชีวิตได้
5. โรคเอดส์แมว (Feline immunodeficiency virus)
สาเหตุและการติดต่อ : เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มักผ่านทางแผล การกัดและต่อสู้กัน ดังนั้นมักเกิดในแมวจรที่มีการต่อเลี้ยงแย่งชิงอาณาเขตมากกว่าแมวเลี้ยงในบ้าน พบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย บางครั้งพบการติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ แม้ชื่อจะคุ้นหูคล้ายโรคในคน แต่ไม่พบติดต่อสู่คน
อาการ : อาการที่เกิดมักไม่จำเพาะเจาะจง ในแมวที่ดูสุขภาพดีบางตัวอาจมีโรคนี้แฝงอยู่ก็เป็นได้ บางตัวอาจแสดงอาการซึม มีไข้ เบื่ออาหาร หากแสดงอาการรุนแรงขึ้นมามักตรวจพบเม็ดเลือดขาวลดต่ำ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อแทรกซ้อน เป็นผลให้เสียชีวิตในที่สุด
แพ็คเกจวัคซีนสำหรับแมว
1. โปรวัคซีน 2 โรค สำหรับลูกแมวอายุ 2 เดือน
เป็นวัคซีนเข็มแรก ที่รวมการป้องกันโรคไข้หัดและหวัดแมวในเข็มเดียว สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน การพิจารณาเริ่มทำวัคซีนขึ้นกับความเสี่ยงของลูกแมวแต่ละตัว หากมีความเสี่ยงเช่น ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ เลี้ยงรวมกันหลายตัว หรือมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรค อาจพิจารณาเริ่มวัคซีนเร็วขึ้นที่อายุ 1.5 เดือนได้
2. โปรวัคซีน 3 โรค สำหรับลูกแมวอายุ 3-4 เดือน
เมื่อลูกแมวอายุครบ 3 เดือน นอกจากวัคซีน 2 โรคคือ ไข้หัดและหวัดแมวแล้ว จะมีการทำวัคซีนป้องกันเพิ่มอีก 1 โรค ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงและเป็นโรคสัตว์สู่คน และเมื่ออายุครบ 4 เดือนแล้ว แมวจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ากระตุ้นอีก 1 เข็ม
อายุุ 3 เดือน ฉีดวัคซีน 3 โรค คือ ไข้หัด หวัดแมว พิษสุนัขบ้า
อายุ 4 เดือน ฉีดวัคซีน พิษสุนัขบ้า (เข็มกระตุ้น)
3. โปรแกรมวัคซีนลิวคีเมีย 2 เข็ม
อีกหนึ่งวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกในแมว ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย ซึ่งจะกระตุ้นทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นกระตุ้นทุกปี หากต้องการฉีดป้องกัน เจ้าของสามารถพาน้องมาตรวจคัดกรองโรคโดยชุดตรวจโรค (viral test kit) และเริ่มทำวัคซีนได้
4. โปรแกรมวัคซีนเอดส์แมว 2 เข็ม
เหมาะสำหรับแมวที่เลี้ยงปล่อย หรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสที่รุนแรงอย่างเอดส์แมว สามารถพาน้องมาตรวจคัดกรองและเริ่มการป้องกันได้เช่นกัน
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์
(Darin Animal Hospital)