รักษาแฮมสเตอร์ (Hamster Clinic)
โรงพยาบาลรักษาหนูแฮมสเตอร์ของ รพส ดารินรักษ์ อยู่ภายใต้แผนกโรงพยาบาลรักษาสัตว์ exotic pet กรุงเทพฯ ให้บริการตรวจสุขภาพหนูแฮมสเตอร์ และตรวจรักษาแฮมสเตอร์ที่ป่วยหรือบาดเจ็บ มีสัตวแพทย์ประจำ exotic ที่มีประสบการณ์ในการรักษาหนูแฮมสเตอร์ โรคที่มักพบจากการรักษา ได้แก่ แฮมสเตอร์เป็นโรคผิวหนัง เชื้อรา หน้าบวม แก้มบวม หนูแฮมสเตอร์ขาหัก หรือแฮมสเตอร์เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง
บริการรักษาหนูแฮมสเตอร์
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของหนูแฮมสเตอร์
แฮมสเตอร์ (Hamster) เป็นสัตว์ที่มี Dental Formula เป็น 2 X (I 1, C 0, P 0, M 3) และมี Dental Enamel สีเหลืองเป็นเอกลักษณ์ กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กระเพาะอาหารส่วนหน้า (pars cardiaca) และกระเพาะอาหารส่วนท้าย (pars pylorica) ปัสสาวะเป็นสีครีม และมี cheek pouches ที่ช่วยในการเก็บอาหาร
แฮมสเตอเริ่มหัดกินเมื่อเริ่มมีอายุประมาณ 7-10 วัน แฮมสเตอร์ต้องการโปรตีน 16-20% ไขมัน 5-7% และคาร์โบไฮเดรต 60-65% ในปริมาณอาหารที่ประมาณ 5-10 กรัมต่อตัวต่อวัน และควรให้น้ำประมาณ 10 ml ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
โรงพยาบาลรักษาหนูแฮมสเตอร์ กรุงเทพฯ
แผนกโรงพยาบาลรักษาแฮมสเตอร์ของเราตั้งอยู่กลางซอยรามอินทรา 14 จังหวัดกรุงเทพมหานคร ใกล้ถนนเกษตรนวมินทร์ รามอินทรา เลียบด่วน โรงพยาบาลมีบริการพื้นที่จอดรถกว้างขวาง
แฮมสเตอร์ขนร่วง โรคผิวหนัง เป็นเชื้อรา
- ลักษณะอาการ: ขนร่วงในบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ ผิวหนังแห้งและมีแผล อาจมีรอยแผลที่แดงและบวม.
- สาเหตุ: มาจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในวัสดุกระเป๋า อาหาร หรือเครื่องเล่น
- การรักษา: หมอรักษาแฮมสเตอร์จะแนะนำการใช้ยาต้านเชื้อรา ควรแยกแฮมสเตอร์ที่ติดเชื้อออกมาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- การป้องกัน: ทำความสะอาดกรงที่เลี้ยงแฮมสเตอร์อย่างสม่ำเสมอ และตรวจสอบว่ากรงไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อราอย่างสม่ำเสมอ
โรคหน้าบวม แก้มบวม
- ลักษณะอาการ: แก้มบวมมากขึ้นทั้งสองข้างหรือเพียงข้างเดียว, อาจมีปวดเมื่อสัมผัส
- สาเหตุ: อาจเกิดจากการติดเชื้อ, การบาดเจ็บ, หรือสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ภายในกระเป๋าแก้ม
- การรักษา: หมอรักษาแฮมสเตอร์อาจจำเป็นต้องเปิดกระเป๋าแก้มเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออก และให้ยาต้านการอักเสบ
- การป้องกัน: ให้อาหารที่มีขนาดเหมาะสมและไม่แข็งเกินไป
หนูแฮมสเตอร์เป็นเนื้องอก มะเร็ง
- ลักษณะอาการ: พบก้อนหรือเนื้องอกบนผิวหนังหรือภายในร่างกาย
- สาเหตุ: สาเหตุยังไม่ชัดเจน แต่อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และการสัมผัสกับสารเคมี
- การรักษา: หมอรักษาแฮมสเตอร์อาจแนะนำการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกออก หรือให้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
- การป้องกัน: ป้องกันการเป็นสัมผัสกับสารเคมี และรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด.
หนูแฮมสเตอร์ขาหัก
- ลักษณะอาการ: แฮมสเตอร์เดินผิดปกติ หรือไม่เดินเลย ขาอาจมีลักษณะบิดเบี้ยวหรือบวม
- สาเหตุ: การกระแทกหรือการตกจากที่สูง
- การรักษา: หากยืนยันว่าขาหัก หมออาจใช้ splint เพื่อให้ขายึดตำแหน่ง และให้ยาแก้ปวด
- การป้องกัน: วางกรงในที่ที่ปลอดภัย และตรวจสอบว่าไม่มีอุปกรณ์ที่อาจทำให้แฮมสเตอร์บาดเจ็บ
แฮมสเตอร์ มีกี่สายพันธุ์ ที่นิยมเลี้ยง?
หนูแฮมสเตอร์มี 5 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่
- Syrian (Cricetulus auratus) หรือ Teddy Bear ขนยาว และ Standard ขนสั้น เป็นชนิดธรรมดา
- Winter White Russian (Phodopus sungorus) หรือ Siberian hamster และ Hungarian hamster เป็นสายพันธุ์แคระ
- Campbell Russian (Phodopus campbell) หรือ Siberian hamster และ European hamster เป็นพันธุ์แคระ
- Chinese (Cricetulus griseus) หรือ Striped hamster เป็นพันธุ์แคระ
- Roborovski (Phodopus roborovski) หรือ Desert hamster เป็นพันธุ์แคระ
รีวิวจากลูกค้า (Review)
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ มีแผนกโรงพยาบาล exotic pet ใน จ.กรุงเทพ ให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาสัตว์ exotic หลากหลายชนิด รวมถึง รักษาชูก้าไกรเดอร์ เม่นแคระ กระรอก แกสบี้ กระต่าย เต่า งู กิ้งก่า นกแก้ว และนกสายพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์
(Darin Animal Hospital)
214 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
สนใจบริการรักษาหนูแฮมสเตอร์