กระต่ายท้องอืด (Gastrointestinal Hypomotility)
อาการกระต่ายท้องอืดเป็นโรคที่ควรรีบนำมาพบหมอกระต่ายเพื่อทำการรักษาโรคท้องอืดโดยเร่งด่วน เนื่องจากลำไส้ของกระต่ายค่อนข้างบาง กระต่ายที่ท้องอืดจึงมีโอกาสเสียชีวิตจากความเจ็บปวด (Pain Shock) เนื่องจากอาการท้องอืดได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สูงเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆ
รักษากระต่ายท้องอืด
โรคกระต่ายท้องอืดหรือที่เรียกว่า “Gastrointestinal Hypomotility” หรือ “Gastrointestinal Stasis” เป็นสภาวะที่กระต่ายมีปัญหาในระบบย่อยอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารหยุดการทำงานหรือลดความสามารถในการย่อยอาหารลง ส่งผลให้อาหารสะสมในทางเดินอาหาร และส่งผลให้แก๊สสะสม ทำให้กระต่ายเจ็บปวดและรู้สึกไม่สบาย
กระต่ายท้องอืด เกิดจากอะไร
กระต่ายเป็นโรคท้องอืดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เช่น พลาสติก กระดาษ เศษไม้ การกินสัดส่วนไฟเบอร์ (fiber) ไม่เพียงพอ การทานน้ำไม่เพียงพอ ความเครียด ภาวะการเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคตับอักเสบ โรคตับบิด และการอุดตันของทางเดินอาหาร เช่น ปัญหาก้อนขนอุดตัน
การให้อาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กินแป้งมากเกินไป ก็ทำให้กระต่ายท้องอืดได้ เนื่องจากทำให้เกิดการเสียสมดุลในระบบย่อยอาหาร การรบกวนจุลชีพในทางเดินอาหาร เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์กินพืช (Herbivore) การหมักย่อยเยื่อใยพืชในลำไส้ใหญ่ส่วนท้ายจึงมีความสำคัญ แต่เมื่อปัจจัยต่างๆรบกวนต่อจุลชีพนี้ จะส่งผลให้เกิดภาวะท้องอืดในกระต่าย
อีกสาเหตุก็คือ การที่ลูกกระต่ายตัวเล็กหย่านมเร็วเกินไปก่อนถึงวัยอันควร ทำให้ขาดโอกาสในการได้โพรไบโอติก (Probiotics) และอุจจาระพวงองุ่น (Caecotroph) จากแม่กระต่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มจุลชีพในลำไส้ของกระต่าย
อาการที่สังเกตได้ในกระต่ายท้องอืด
อาการที่สังเกตได้จากกระต่ายที่มีกระต่ายท้องอืด คือ กระต่ายจะมีอาการตาหรี่ คิ้วขมวด และไม่สนใจอาหาร ทำให้เห็นได้ชัดว่ากระต่ายมีอาการปวดท้อง น้ำลายจะไหลออกมา และเมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่าท้องกระต่ายแข็งขึ้นและขยายขนาด เนื่องจากการสะสมของแก๊ส
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอาการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น กระต่ายอาจจะนอนขดตัว และแสดงอาการปวดโดยการกัดฟัน มีน้ำหนักตัวลดลง ไม่ค่อยเดินหรือกระโดด แม้กระทั่งหลบไปอยู่มุมห้อง และไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มีอาการซึมและไม่แต่งตัว
วิธีรักษากระต่ายท้องอืด
- หมอรักษากระต่ายจะทำการตรวจร่างกายกระต่ายจากภายนอกก่อน ถ้าพบว่ากระต่ายมีความเจ็บปวดมาก หมอที่รักษากระต่ายป่วยอาจพิจารณาฉีดยาลดการเจ็บปวดก่อนที่ทำการตรวจสอบร่างกาย (เพราะกระต่ายอาจมีโอกาสเสียชีวิตจากความเจ็บปวด)
- ตรวจอุจจาระ อาจจมีก้อนขนาดเล็กลง หรืออาจจะไม่มีอึเลย
- เอกซ์เรย์ x-ray เพื่อดูภาพลักษณะแก๊สและอาหารภายในลำไส้
- ถ้าโรคท้องอืดเป็นภาวะต่อเนื่องที่เกิดจากโรคๆอื่น สัตวแพทย์จะทำการพิจารณารักษาโรคอื่นควบคู่กันไปด้วย
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ มีหมอรักษากระต่ายเป็นสัตวแพทย์ประจำ มีให้บริการตรวจสุขภาพกระต่าย รักษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับกระต่าย เช่น กระต่ายท้องอืด กระต่ายท้องเสีย กระต่ายเป็นหวัด กระต่ายตาอักเสบ กระต่ายปอดอักเสบ กระต่ายเป็นเชื้อรา โรคผิวหนัง กระต่ายเป็นแผลที่เท้า ตัดฟันกระต่ายที่ยาวผิดปกติ เป็นต้น
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital)
214 ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230